Organic SERPs คืออะไร ทำไมต้องรู้จัก

การทำเว็บไซต์ SEO เป็นวิธีที่ผู้ชำนาญทางการตลาดออนไลน์ แนะนำให้ให้ผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จในธุรกิจออนไลน์ทุกประเภท ศึกษาและพัฒนาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายเมื่อมีการค้นหาด้วยคำสำคัญใน Google ทั้งนี้ คำศัพท์ที่สำคัญ คือ Organic SERPs เป็นสิ่งที่ทุกคนควรเข้าใจ เพราะจะเป็นประโยชน์ในการสังเกตผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงด้าน SEO ของเว็บไซต์ตัวเอง และช่วยให้เห็นว่าเว็บไซต์อื่น ๆ ที่ใช้ keyword เดียวกันมีความก้าวหน้าอย่างไรบ้าง

Organic SERPs ย่อมาจาก organic search engine result pages หมายถึงหน้าจอแสดงผลของ Google ที่จะปรากฏขึ้น เมื่อมีการใส่ keyword ลงไปในช่องค้นหา

ตัวอย่างเช่น คุณใช้ keyword คำว่า ดอกไม้รับปริญญา เมื่อกดค้นหา ก็จะปรากฏเว็บไซต์ต่าง ๆ ลำดับตามคะแนน SEO จากสูงไปต่ำ 1-10 เว็บไซต์ในแต่ละหน้าเพจ

มีการศึกษาวิจัยพบว่าเว็บไซต์ SEO ที่ปรากฏผลอยู่ในส่วน Organic SERPs อันดับที่ 1-5 จะมียอดขายสินค้าและบริการมากกว่าเว็บไซต์ที่อยู่ในลำดับล่าง ๆ ลงไป และนอกจากคำว่า Organic SERPs แล้ว ยังมีคำว่า Paid SERPs ซึ่งหมายถึง เว็บไซต์ที่มีการจ่ายเงินเป็นค่าสปอนเซอร์ เพื่อซื้อพื้นที่โฆษณา จะอยู่โซนด้านบนหรือด้านข้างของหน้าจอ โดยต้องมีการเสียค่าใช้จ่ายให้ Google แตกต่างจาก Organic SERPs ที่ไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย เพียงพัฒนาเว็บไซต์ให้เป็นตามกฎของ Google และอัปเดตความสดใหม่ของบทความเสมอ ๆ

หากคุณต้องการทำให้อันดับเว็บไซต์ SEO ใน Organic SERPs ดีขึ้น ต้องห้ามมองข้ามสิ่งต่อไปนี้

1. โครงสร้างของเว็บไซต์ ต้องมีการจัดหมวดหมู่ของสินค้าและบริการที่ชัดเจน

2. ระบบใช้งานง่ายกับโทรศัพท์มือถือและอาจมีแชทบอทที่ช่วยในการตอบคำถาม

3. หัวข้อและ keyword ที่ดี หัวข้อต้องน่าสนใจ และใช้คำสำคัญที่มีความยาวและเฉพาะเจาะจง สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสืบค้นของผู้บริโภคยุคใหม่

4. แชร์ Link เชื่อมโยงจากแพลตฟอร์มของสื่อโซเชียลอื่น ๆ เช่น Instagram Facebook

5. มีการทําไฮเปอร์ลิงก์เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลไปสู่เพจหน้าอื่นในเว็บไซต์ตัวเอง สร้างความสะดวกให้แก่ผู้อ่าน

หากคุณใส่ใจองค์ประกอบต่าง ๆ ครบทุกด้านที่กล่าวมา ก็ทำให้อันดับ SEO สูงขึ้น ซึ่งกรณีของการพิมพ์หาด้วยคำค้นต่าง ๆ เช่น ดอกไม้รับปริญญา ถ้าเจอเว็บไซต์ใดในอันดับต้น ๆ ของ Organic SERPs แปลว่ามีคุณภาพตามหลัก SEO ครบถ้วน

และหากเว็บไซต์คุณอยู่ในอันดับต้น ๆ ของส่วน Organic SERPs ด้วย ก็แสดงว่าคุณได้พัฒนาเว็บไซต์มาถูกทางแล้ว และควรทำอย่างต่อเนื่องต่อไป เพื่อให้ได้อันดับที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ

Organic SERPs มีประโยชน์ทั้งการยืนยันคุณภาพของเว็บไซต์ตนเอง และช่วยให้สามารถที่จะศึกษาเปรียบเทียบกับเว็บไซต์อื่นที่เป็นคู่แข่งของธุรกิจที่ใช้คำค้นหาเดียวกันได้ด้วย

เราหวังว่าบทความนี้ จะช่วยทุกท่านสนใจการใช้ประโยชน์จาก Organic SERPs มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการทำธุรกิจออนไลน์ต่อไป

หัวข้อและ keyword ที่ดี หัวข้อต้องน่าสนใจ

Google Search Console คืออะไร ใช้ประโยชน์อย่างไร

Google Search Console หรือชื่อเดิมที่หลายคนรู้จักคือ webmaster tools เป็นเครื่องมือที่ผู้ทำเว็บไซต์ SEO ควรรู้จัก เพราะจะช่วยตรวจสอบคุณภาพของเว็บไซต์ได้ตลอดเวลาว่า ตรงตามหลักเกณฑ์ SEO หรือ search engine optimization ที่ Google กำหนดไว้หรือไม่

หลังจากการติดตั้ง Google Search Console เรียบร้อยแล้ว ให้เลือกโดเมนของเว็บไซต์ในการใช้งานเครื่องมือนี้ และทำการยืนยันตัวตนและระบุตัวผู้ที่มีสิทธิ์ใช้งานดูแลเว็บไซต์ให้ชัดเจน

สิ่งที่ควรศึกษาใน Google Search Console เพื่อให้การทำ SEO ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น มีดังนี้

1. ค่า Performance

เป็นสิ่งที่จะบอกได้ว่า keyword ที่คุณที่เว็บไซต์ใช้อยู่ในแต่ละเพจตรงกับการสืบค้นของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากเพียงใด จะมีกราฟเส้นและตัวเลขเปอร์เซ็นต์ ที่แสดงให้เห็นรายละเอียดต่าง ๆ เช่น

ค่า Total Clicks หมายถึงจำนวนครั้งที่มีคนคลิกเข้ามาชมในเว็บไซต์หลังจากเห็นส่วน title และ meta-description ในหน้าต่างการสืบค้น

ค่า CTR หมายถึงสัดส่วนผู้ที่เห็นเว็บไซต์กับผู้ที่คลิกเข้ามา หากค่า CTR สูง ก็แสดงว่าประสบความสำเร็จในการนำเสนอข้อมูล โดยเฉพาะการตั้งหัวเรื่องและบทคัดย่อที่น่าสนใจ

ค่า Average position หมายถึง อันดับที่เว็บไซต์ของคุณปรากฏบนหน้าต่างการสืบค้น หากอยู่ในอันดับ top10 หรือ top5 ก็ยิ่งดี เพราะส่งผลต่อความเชื่อมั่นและทำให้มีโอกาสได้รับการสั่งซื้อสินค้ามากกว่าเว็บไซต์ลำดับล่าง ๆ

2. ค่า URL expectations

เป็นช่องทางที่สะดวกในการตรวจสอบว่าระบบ algorithm ของ Google ได้มาเช็คข้อมูลในเว็บไซต์หรือเพจของคุณครั้งล่าสุดเมื่อใด และมีประเด็นไหนที่ต้องแก้ไขบ้าง หากยังไม่มีการอัปเดต ทั้งที่คุณได้มีการอัปโหลดข้อมูล รูปภาพ บทความใหม่ ๆ ลงไป ก็สามารถ กดปุ่ม Request index เพื่อเป็นการส่งสัญญาณให้ระบบ AI ของ Google รีบมาเก็บข้อมูลที่อัปเดตได้

3. ค่า Link

การทำลิงก์มีผลต่ออันดับ SEO ไม่ว่าจะเป็นลิงก์ระหว่างเว็บไซต์ที่คุณเชื่อมโยงเป็นพันธมิตรการค้า ที่เรียกว่า External Link หรือ Internal Link ที่เชื่อมเพจภายในเว็บไซต์ของตัวเอง

ฟังก์ชันนี้จะทำให้เห็นได้ว่าผู้คนที่เข้ามาในเว็บไซต์คุณนั้นมาจากการคลิกลิงก์ที่ใด เว็บไซต์ใดที่คุณควรให้ความสำคัญทำลิงก์ต่อไป หรือเป็นแนวทางในการขยายฐานลูกค้าที่กว้างขึ้น ทั้งยังทำให้รู้ถึงความต้องการของลูกค้าเป้าหมายได้ว่า ต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในบทความประเภทใดบ้าง หรือประทับใจในสไตล์การเขียนงานแบบใด เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า Google Search Console เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การทำ SEO ของคุณประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น ทำให้สามารถแก้ไขจุดอ่อนได้อย่างตรงตรงประเด็น และทำให้มีการขยายฐานลูกค้าของแบรนด์ที่กว้างขึ้นได้ในเวลารวดเร็ว ที่สำคัญคือ ทำให้มีตัวเลขยอดขายสินค้าเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายในยุคที่เศรษฐกิจมีความผันผวนอย่างในปัจจุบัน

Google Search Console คืออะไร ใช้ประโยชน์อย่างไร

ทำไม ถึงต้องทำ Meta description ในเว็บไซต์ SEO

การทำเว็บไซต์ที่มีคุณภาพสูงตามระบบ SEO (search engine optimization) ที่ Google แนะนำ เป็นสิ่งที่จำเป็นหากต้องการประสบความสำเร็จเหนือคู่แข่งทางการค้าในระบบอินเทอร์เน็ตออนไลน์ ซึ่งนอกจากการผลิตบทความ SEO การปรับส่วนโครงสร้าง การทำ backlink ฯลฯ ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ นั่นคือ การทำ Meta description ที่จะทำให้เพิ่มอันดับ SEO และยอดขายได้มากขึ้น

การทำ Meta description สำคัญต่อเว็บไซต์อย่างไร

การทำ Meta description เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในปี 2019 เพราะเป็นจุดที่ช่วยให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายตัดสินใจได้ว่า ควรจะคลิกเข้ามาในลิงก์จากหน้าต่างการสืบค้นดีหรือไม่

ซึ่ง Meta description จะปรากฏอยู่ในส่วนใต้หัวเรื่อง (title) ที่มักมีความยาวทั่วไปอยู่ที่ 150-160 คำ สำหรับให้ข้อมูลครบทุกประเด็นที่บทความกล่าวถึง ทั้งนี้ ด้วยความสั้น กระชับของ Meta description จึงต้องให้ความสำคัญกับ keyword ทั้ง focus keyword (คีย์เวิร์ดหลัก) และ related keyword (คีย์เวิร์ดรอง) ที่ต้องใส่ได้ครบถ้วนด้วย

เป็นที่ทราบกันดีว่า คนไทยนิยมค้นหาข้อมูลร้านค้าต่าง ๆ ด้วย Google ซึ่งผลลัพธ์ที่แสดงออกมา หากมีส่วน Meta description ที่ใต้หัวข้อเรื่อง จะส่งผลดีให้ดึงดูดใจผู้อ่านให้สะดุดสายตามากกว่าเว็บไซต์ที่ไม่มีข้อมูลส่วนนี้

ที่สำคัญคือ การมีผลการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำคัญ อย่าง Google search console ที่เจ้าของกิจการเว็บไซต์ออนไลน์สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี เพื่อให้เห็นกราฟการวิเคราะห์ผลสถิติการใช้งานต่าง ๆ ที่จะยืนยันได้ว่าหลังการทำ Meta description จะมีค่า CTR หรือ click through rate ที่หมายถึง อัตราการคลิกเข้ามาชมข้อมูลในเว็บไซต์ที่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดด้วย

ทั้งนี้ กูรูการตลาดแนะนำว่า การทำ Meta description ที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสาร ควรจัดทำโดยผู้เขียนบทความของเพจนั้น ๆ เอง เช่น บทความเกี่ยวกับอุปกรณ์ไอที สินค้าที่มีข้อมูลทางเทคนิค เว็บไซต์ทางการแพทย์และสุขภาพ ฯลฯ เพราะต้องอาศัยความชำนาญในการสรุปประเด็นที่ครอบคลุมและชัดเจนที่สุดทำไม ถึงต้องทำ Meta description ในเว็บไซต์ SEO

ประเด็นที่ห้ามมองข้าม คือ การหา focus keyword (คีย์เวิร์ดหลัก) และ related keyword (คีย์เวิร์ดรอง) สำหรับการใส่ใน Meta description ที่ควรศึกษาจาก Google search console ที่มีข้อมูลให้ว่า คีย์เวิร์ดที่ผู้คนนิยมค้นหาที่ตรงกับกลุ่มผู้ใช้สินค้าและบริการของบริษัทคุณมีคำว่าอะไรบ้าง ซึ่งคำที่นิยมทั่วไป มักใช้เป็น คีย์เวิร์ดหลัก และหากมีส่วนขยาย เช่น อย่างไร ดีไหม ที่ไหนบ้าง ฯลฯ เหล่านี้ มักใช้เป็น คีย์เวิร์ดรอง หรือวิธีที่ง่ายที่สุด คือการพิมพ์หาใน Google search เพื่อดูตัวอย่างคำที่นำเสนออย่างอัตโนมัติจากระบบ algorithm ของ Google ซึ่งก็มาจากการพิมพ์สืบค้นจริงของผู้คนทั่วไปนั่นเอง

จะเห็นได้ว่า การทำ Meta description มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการทำเว็บไซต์ SEO ให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ หวังว่าบทความนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกท่านใส่ใจการทำ Meta description ให้เว็บไซต์มากยิ่งขึ้น เพื่อให้มีโอกาสประสบความสำเร็จในธุรกิจออนไลน์ได้ยิ่งกว่าเดิม