ทำไม ถึงต้องทำ Meta description ในเว็บไซต์ SEO

การทำเว็บไซต์ที่มีคุณภาพสูงตามระบบ SEO (search engine optimization) ที่ Google แนะนำ เป็นสิ่งที่จำเป็นหากต้องการประสบความสำเร็จเหนือคู่แข่งทางการค้าในระบบอินเทอร์เน็ตออนไลน์ ซึ่งนอกจากการผลิตบทความ SEO การปรับส่วนโครงสร้าง การทำ backlink ฯลฯ ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ นั่นคือ การทำ Meta description ที่จะทำให้เพิ่มอันดับ SEO และยอดขายได้มากขึ้น

การทำ Meta description สำคัญต่อเว็บไซต์อย่างไร

การทำ Meta description เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในปี 2019 เพราะเป็นจุดที่ช่วยให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายตัดสินใจได้ว่า ควรจะคลิกเข้ามาในลิงก์จากหน้าต่างการสืบค้นดีหรือไม่

ซึ่ง Meta description จะปรากฏอยู่ในส่วนใต้หัวเรื่อง (title) ที่มักมีความยาวทั่วไปอยู่ที่ 150-160 คำ สำหรับให้ข้อมูลครบทุกประเด็นที่บทความกล่าวถึง ทั้งนี้ ด้วยความสั้น กระชับของ Meta description จึงต้องให้ความสำคัญกับ keyword ทั้ง focus keyword (คีย์เวิร์ดหลัก) และ related keyword (คีย์เวิร์ดรอง) ที่ต้องใส่ได้ครบถ้วนด้วย

เป็นที่ทราบกันดีว่า คนไทยนิยมค้นหาข้อมูลร้านค้าต่าง ๆ ด้วย Google ซึ่งผลลัพธ์ที่แสดงออกมา หากมีส่วน Meta description ที่ใต้หัวข้อเรื่อง จะส่งผลดีให้ดึงดูดใจผู้อ่านให้สะดุดสายตามากกว่าเว็บไซต์ที่ไม่มีข้อมูลส่วนนี้

ที่สำคัญคือ การมีผลการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำคัญ อย่าง Google search console ที่เจ้าของกิจการเว็บไซต์ออนไลน์สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี เพื่อให้เห็นกราฟการวิเคราะห์ผลสถิติการใช้งานต่าง ๆ ที่จะยืนยันได้ว่าหลังการทำ Meta description จะมีค่า CTR หรือ click through rate ที่หมายถึง อัตราการคลิกเข้ามาชมข้อมูลในเว็บไซต์ที่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดด้วย

ทั้งนี้ กูรูการตลาดแนะนำว่า การทำ Meta description ที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสาร ควรจัดทำโดยผู้เขียนบทความของเพจนั้น ๆ เอง เช่น บทความเกี่ยวกับอุปกรณ์ไอที สินค้าที่มีข้อมูลทางเทคนิค เว็บไซต์ทางการแพทย์และสุขภาพ ฯลฯ เพราะต้องอาศัยความชำนาญในการสรุปประเด็นที่ครอบคลุมและชัดเจนที่สุดทำไม ถึงต้องทำ Meta description ในเว็บไซต์ SEO

ประเด็นที่ห้ามมองข้าม คือ การหา focus keyword (คีย์เวิร์ดหลัก) และ related keyword (คีย์เวิร์ดรอง) สำหรับการใส่ใน Meta description ที่ควรศึกษาจาก Google search console ที่มีข้อมูลให้ว่า คีย์เวิร์ดที่ผู้คนนิยมค้นหาที่ตรงกับกลุ่มผู้ใช้สินค้าและบริการของบริษัทคุณมีคำว่าอะไรบ้าง ซึ่งคำที่นิยมทั่วไป มักใช้เป็น คีย์เวิร์ดหลัก และหากมีส่วนขยาย เช่น อย่างไร ดีไหม ที่ไหนบ้าง ฯลฯ เหล่านี้ มักใช้เป็น คีย์เวิร์ดรอง หรือวิธีที่ง่ายที่สุด คือการพิมพ์หาใน Google search เพื่อดูตัวอย่างคำที่นำเสนออย่างอัตโนมัติจากระบบ algorithm ของ Google ซึ่งก็มาจากการพิมพ์สืบค้นจริงของผู้คนทั่วไปนั่นเอง

จะเห็นได้ว่า การทำ Meta description มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการทำเว็บไซต์ SEO ให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ หวังว่าบทความนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกท่านใส่ใจการทำ Meta description ให้เว็บไซต์มากยิ่งขึ้น เพื่อให้มีโอกาสประสบความสำเร็จในธุรกิจออนไลน์ได้ยิ่งกว่าเดิม

ค้นพบเว็บง่ายขึ้น ต้องเก่งการเขียน Meta description

เมื่อคุณเปิดเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อหวังผลทางธุรกิจ ต้องการให้คนรู้จักแบรนด์ รู้ว่าเว็บนี้ทำอะไร มีอะไร ขายราคาเท่าไร ต้องจัดทำรายการลงข้อมูลรายละเอียดในเว็บไซต์ให้คนรู้จักดีขึ้น นั่นหมายถึงการทำ Meta Description เป็นการเขียนคำอธิบายแบบรวบรัด สรุปข้อมูลโดยรวมของเว็บไซต์อย่างสั้น กระชับ ได้ใจความ มีประโยชน์ต่อผู้ค้นหาซึ่งอ่านแล้วเข้าใจได้ทันทีว่าเป็นเว็บไซต์ที่ตรงกับสิ่งที่ต้องการหรือไม่ นับว่ามีประโยชน์ต่อการทำ SEO อย่างมาก ช่วยดึงดูดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้บริการมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ดีมี 2 ด้าน ด้านแรกคือทำให้ลูกค้าเป้าหมายเข้ามาอุดหนุนสินค้าและบริการของคุณมากขึ้น มียอดขายและผลกำไรสูงขึ้น ถึงแม้ผู้ใช้บางรายเข้ามาแล้วไม่เลือกซื้อ ก็ยังมีผลดีอีกด้านคือเพิ่มจำนวนผู้เข้าชม ทำให้เว็บเข้าไปอยู่ในอันดับที่ดีขึ้นใน Google และกลายเป็นที่รู้จักแพร่หลายยิ่งขึ้น

Search Engine หลายผู้ให้บริการ ให้คะแนน Meta Description

เมื่อเห็นความสำคัญของการทำ Meta Description แล้ว ต่อไปจะเป็นภาคปฏิบัติ คุณต้องฝึกฝนให้ชำนาญว่าจะเขียนอย่างไรให้ได้เนื้อหาที่กระชับและโดนใจผู้อ่าน เรียกว่าอ่านแล้วดึงดูดใจให้อยากอ่านต่อเพื่อเรียนรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ จึงคลิกเข้ามาดูเว็บไซต์ในทันที แต่ไม่ใช่ลักษณะคลิกเบท โดยปกติการใส่คีย์เวิร์ดในบทความอย่างแนบเนียนเป็นการทำ SEO อยู่แล้ว การทำ Meta Description จะเข้ามาเป็นตัวเสริมให้ผู้อ่านเข้าถึงเนื้อหาในเว็บเร็วขึ้น

ทั้งนี้ คำอธิบาย Meta Description ควรมีเอกลักษณ์ เพราะถ้าเขียนเหมือนกับคำแนะนำในหน้าเว็บอื่น ๆ จะไม่ได้รับความสนใจจากดัชนีการจัดอันดับของ Google ถือว่าไม่ได้เสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต แม้ว่าชื่อของหน้าเว็บจะแตกต่างกันไป แต่ถ้าคำอธิบายทั้งหมดเหมือนกัน ทำไปก็เสียเวลาเปล่า คุณสามารถใช้ประโยชน์จาก Google Webmaster Tools คลิกเข้า HTML Improvements หรือใช้ Screaming Frog SEO Spider เพื่อเพื่อตรวจสอบคำอธิบายที่ซ้ำกันและปรับแต่งใหม่ให้โดดเด่นกว่าเว็บอื่นได้

เกณฑ์การเขียนคำอธิบาย Meta Description มีได้สูงสุด 155 ตัวอักษร บางครั้งอาจถูกตัดสั้น ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ Google เพิ่มลงในผลการค้นหา เช่น อาจเพิ่มวันที่ลงในบทความ ซึ่งจะลดจำนวนอักษรที่พร้อมใช้งาน นอกจากนี้ Google ยังปรับเปลี่ยนความยาวทุก ๆ คราว เขียนให้กระชับไว้ก่อนปลอดภัยกว่า ควรมีคำกระตุ้นการตัดสินใจ เช่น “ด่วน” “ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่คุณต้องการ” “ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม” ถ้ามีผลิตภัณฑ์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ๆ มุ่งเน้นไปที่รายละเอียดทางเทคนิค เขียนอธิบายให้เข้าใจง่าย ราคาถูก ทำให้เกิดความสนใจและคลิกเข้าเว็บไซต์โดยเร็ว

ย่อหน้าแรกของเนื้อหา ควรใส่ใจเป็นพิเศษ

ขณะเดียวกันผู้เขียนบทความควรให้ความสำคัญกับย่อหน้าแรกของคอนเทนต์ โดยเฉพาะ 155 ตัวอักษรแรก ควรสอดแทรกคีย์เวิร์ดหลักรวมอยู่ด้วย ถือเป็นเรื่องจำเป็น ทุกครั้งที่จะเขียนบทความ ควรใส่คีย์เวิร์ดหลักในย่อหน้าแรกอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าหาก Google ไม่พบการทำ Meta description อยู่ในบทความ จะดึงข้อความในย่อหน้าแรกไปแสดงผลบนการค้นหาแทน การใส่มีคีย์เวิร์ดไว้ทั้งในย่อหน้าแรกหรือในคำอธิบายเนื้อหาย่อมเป็นสิ่งที่ดีและช่วยให้เว็บติดอันดับดีขึ้นเรื่อยๆ