ค้นพบเว็บง่ายขึ้น ต้องเก่งการเขียน Meta description

เมื่อคุณเปิดเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อหวังผลทางธุรกิจ ต้องการให้คนรู้จักแบรนด์ รู้ว่าเว็บนี้ทำอะไร มีอะไร ขายราคาเท่าไร ต้องจัดทำรายการลงข้อมูลรายละเอียดในเว็บไซต์ให้คนรู้จักดีขึ้น นั่นหมายถึงการทำ Meta Description เป็นการเขียนคำอธิบายแบบรวบรัด สรุปข้อมูลโดยรวมของเว็บไซต์อย่างสั้น กระชับ ได้ใจความ มีประโยชน์ต่อผู้ค้นหาซึ่งอ่านแล้วเข้าใจได้ทันทีว่าเป็นเว็บไซต์ที่ตรงกับสิ่งที่ต้องการหรือไม่ นับว่ามีประโยชน์ต่อการทำ SEO อย่างมาก ช่วยดึงดูดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้บริการมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ดีมี 2 ด้าน ด้านแรกคือทำให้ลูกค้าเป้าหมายเข้ามาอุดหนุนสินค้าและบริการของคุณมากขึ้น มียอดขายและผลกำไรสูงขึ้น ถึงแม้ผู้ใช้บางรายเข้ามาแล้วไม่เลือกซื้อ ก็ยังมีผลดีอีกด้านคือเพิ่มจำนวนผู้เข้าชม ทำให้เว็บเข้าไปอยู่ในอันดับที่ดีขึ้นใน Google และกลายเป็นที่รู้จักแพร่หลายยิ่งขึ้น

Search Engine หลายผู้ให้บริการ ให้คะแนน Meta Description

เมื่อเห็นความสำคัญของการทำ Meta Description แล้ว ต่อไปจะเป็นภาคปฏิบัติ คุณต้องฝึกฝนให้ชำนาญว่าจะเขียนอย่างไรให้ได้เนื้อหาที่กระชับและโดนใจผู้อ่าน เรียกว่าอ่านแล้วดึงดูดใจให้อยากอ่านต่อเพื่อเรียนรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ จึงคลิกเข้ามาดูเว็บไซต์ในทันที แต่ไม่ใช่ลักษณะคลิกเบท โดยปกติการใส่คีย์เวิร์ดในบทความอย่างแนบเนียนเป็นการทำ SEO อยู่แล้ว การทำ Meta Description จะเข้ามาเป็นตัวเสริมให้ผู้อ่านเข้าถึงเนื้อหาในเว็บเร็วขึ้น

ทั้งนี้ คำอธิบาย Meta Description ควรมีเอกลักษณ์ เพราะถ้าเขียนเหมือนกับคำแนะนำในหน้าเว็บอื่น ๆ จะไม่ได้รับความสนใจจากดัชนีการจัดอันดับของ Google ถือว่าไม่ได้เสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต แม้ว่าชื่อของหน้าเว็บจะแตกต่างกันไป แต่ถ้าคำอธิบายทั้งหมดเหมือนกัน ทำไปก็เสียเวลาเปล่า คุณสามารถใช้ประโยชน์จาก Google Webmaster Tools คลิกเข้า HTML Improvements หรือใช้ Screaming Frog SEO Spider เพื่อเพื่อตรวจสอบคำอธิบายที่ซ้ำกันและปรับแต่งใหม่ให้โดดเด่นกว่าเว็บอื่นได้

เกณฑ์การเขียนคำอธิบาย Meta Description มีได้สูงสุด 155 ตัวอักษร บางครั้งอาจถูกตัดสั้น ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ Google เพิ่มลงในผลการค้นหา เช่น อาจเพิ่มวันที่ลงในบทความ ซึ่งจะลดจำนวนอักษรที่พร้อมใช้งาน นอกจากนี้ Google ยังปรับเปลี่ยนความยาวทุก ๆ คราว เขียนให้กระชับไว้ก่อนปลอดภัยกว่า ควรมีคำกระตุ้นการตัดสินใจ เช่น “ด่วน” “ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่คุณต้องการ” “ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม” ถ้ามีผลิตภัณฑ์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ๆ มุ่งเน้นไปที่รายละเอียดทางเทคนิค เขียนอธิบายให้เข้าใจง่าย ราคาถูก ทำให้เกิดความสนใจและคลิกเข้าเว็บไซต์โดยเร็ว

ย่อหน้าแรกของเนื้อหา ควรใส่ใจเป็นพิเศษ

ขณะเดียวกันผู้เขียนบทความควรให้ความสำคัญกับย่อหน้าแรกของคอนเทนต์ โดยเฉพาะ 155 ตัวอักษรแรก ควรสอดแทรกคีย์เวิร์ดหลักรวมอยู่ด้วย ถือเป็นเรื่องจำเป็น ทุกครั้งที่จะเขียนบทความ ควรใส่คีย์เวิร์ดหลักในย่อหน้าแรกอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าหาก Google ไม่พบการทำ Meta description อยู่ในบทความ จะดึงข้อความในย่อหน้าแรกไปแสดงผลบนการค้นหาแทน การใส่มีคีย์เวิร์ดไว้ทั้งในย่อหน้าแรกหรือในคำอธิบายเนื้อหาย่อมเป็นสิ่งที่ดีและช่วยให้เว็บติดอันดับดีขึ้นเรื่อยๆ