ความแตกต่างของการทำ SEO แบบ On-page และ Off-page

การปรับปรุงเว็บไซต์ให้ติดอับดับในการค้นหาหน้าแรก ๆ ของ Google ก่อนอื่นต้องทำความเข้าถึงความแตกต่างของการทำ SEO แบบ On-page และ Off-page เพื่อรู้เป้าหมายว่าควรทำแต่ละอย่างอย่างไร เกิดความชัดเจนและทำควบคู่กันไปได้โดยไม่สับสน ก่อนอื่นมารู้จักการทำ SEO รูปแบบ On-page หมายถึงการปรับแต่งหน้าเว็บไซต์เพื่อตอบโจทย์สิ่งที่ผู้ค้นหาต้องการมากที่สุด โดยเริ่มจากการออกแบบโครงสร้างที่ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อนหรือมีจำนวนหน้ามากเกินไป ซึ่งอำนวยความสะดวกให้ค้นหาสิ่งที่ต้องการพบอย่างรวดเร็ว ไม่เสียเวลานาน

ทำความเข้าใจกับการใช้คีย์เวิร์ดเป็นสิ่งสำคัญ

สิ่งสำคัญคือควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้คีย์เวิร์ด การกำหนดคีย์เวิร์ดต้องเลือกคำที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นคำทั่วไปเพื่อเจาะเป้าหมายในวงกว้าง หรือคำเฉพาะและคำขยายที่จับตลาดลูกค้าเป้าหมายโดยตรง เมื่อได้คำที่เหมาะสมแล้วให้นำมาแทรกในบทความอย่างแนบเนียน ตั้งแต่ชื่อเรื่อง ในเนื้อหา รวมทั้งชื่อรูปภาพและวิดีโอด้วย เพื่อช่วยให้การค้นหาเว็บไซต์ติดอันดับหน้าแรกๆ ของ Google เพื่อสร้างโอกาสการเสนอขายสินค้าและบริการสู่สายตาผู้ชมจำนวนมาก ยิ่งสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางมากเท่าไรยิ่งมีโอกาสปิดยอดขายมากและเร็วขึ้นเท่านั้น

สำหรับการทำ SEO รูปแบบ Off-page แตกต่างออกไป โดยตัดเรื่องการค้นหาจากหน้า Google ออกไปก่อน หันมาพิจารณาประสิทธิภาพของเว็บไซต์จากปัจจัยภายนอก เช่น ความน่าเชื่อถือ , ความนิยมและความเห็นของผู้ใช้งาน สรุปว่าการทำ SEO แบบ Off-page เป็นฟีดแบ็กที่สะท้อนกลับมา ไม่เกี่ยวข้องกับการโพสต์บทความหรือปรับแต่งหน้าเว็บเลย เป้าหมายสำคัญคือการสร้างความน่าเชื่อถือ แสดงให้ผู้ชมเห็นว่ามีผู้ชมเข้ามาใช้บริการเว็บไซต์จำนวนมาก สะท้อนให้เห็นว่าลูกค้าพอใจเว็บนี้ พร้อมกับแสดงให้เห็นว่าตอบโจทย์ความต้องการได้มากขนาดไหน เช่น การใส่ Backlink จากเว็บไซต์อื่น ๆ เข้ามาในเว็บไซต์ของเรา วิธีการสร้างเครือข่ายจะต้องคัดเฟ้นเฉพาะเว็บที่มีคุณภาพเท่านั้นที่จะเข้ามาเป็นพันธมิตรกับเรา เท่ากับเป็นกระจกสะท้อนตัวเราว่ามีคุณภาพความน่าเชื่อถือระดับไหน สิ่งนี้สำคัญต่อการทำธุรกิจออนไลน์ ถ้าลูกค้าไม่เชื่อมั่น การตัดสินใจซื้อจะเป็นไปได้ยาก

ทำความเข้าใจกับการใช้คีย์เวิร์ดเป็นสิ่งสำคัญ

นอกจากเว็บพันธมิตรต้องมีคุณภาพแล้ว ยังต้องมีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณด้วย เพราะถ้าดึงเว็บไซต์ที่ไม่เกี่ยวข้องมาลิงก์ด้วย ทาง Google จะพิจารณาว่าเป็นลิงก์ที่ไม่เกิดประโยชน์และไม่ให้น้ำหนักความสำคัญในการจัดอันดับ ซ้ำร้ายการทำ SEO ที่ผิดวิธี ทั้งการลิงก์เว็บไซต์ที่ไม่เกี่ยวข้องและการกระหน่ำใส่คีย์เวิร์ดลงในบทความมากเกินไปจนอ่านไม่รู้เรื่อง ทำให้ถูกมองว่าเป็นสแปมและถูกลงโทษจาก Google ไม่ให้เว็บอยู่ในการจัดอันดับชั่วคราว การทำ SEO ช่วยให้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ค้นหาสิ่งที่ต้องการรวดเร็ว ใช้เวลาโหลดไม่นาน มีความสะดวกและปลอดภัยต่อผู้ใช้งานมากขึ้น ทั้งหมดนี้ทำได้ไม่ยากเพียงแต่ต้องเข้าใจหลักการทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรก เขียนเนื้อหาบทความที่ดีเป็นแบบที่ผู้อ่านชอบและใส่คีย์เวิร์ดลงไปเท่าที่จำเป็น

ค้นพบเว็บง่ายขึ้น ต้องเก่งการเขียน Meta description

เมื่อคุณเปิดเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อหวังผลทางธุรกิจ ต้องการให้คนรู้จักแบรนด์ รู้ว่าเว็บนี้ทำอะไร มีอะไร ขายราคาเท่าไร ต้องจัดทำรายการลงข้อมูลรายละเอียดในเว็บไซต์ให้คนรู้จักดีขึ้น นั่นหมายถึงการทำ Meta Description เป็นการเขียนคำอธิบายแบบรวบรัด สรุปข้อมูลโดยรวมของเว็บไซต์อย่างสั้น กระชับ ได้ใจความ มีประโยชน์ต่อผู้ค้นหาซึ่งอ่านแล้วเข้าใจได้ทันทีว่าเป็นเว็บไซต์ที่ตรงกับสิ่งที่ต้องการหรือไม่ นับว่ามีประโยชน์ต่อการทำ SEO อย่างมาก ช่วยดึงดูดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้บริการมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ดีมี 2 ด้าน ด้านแรกคือทำให้ลูกค้าเป้าหมายเข้ามาอุดหนุนสินค้าและบริการของคุณมากขึ้น มียอดขายและผลกำไรสูงขึ้น ถึงแม้ผู้ใช้บางรายเข้ามาแล้วไม่เลือกซื้อ ก็ยังมีผลดีอีกด้านคือเพิ่มจำนวนผู้เข้าชม ทำให้เว็บเข้าไปอยู่ในอันดับที่ดีขึ้นใน Google และกลายเป็นที่รู้จักแพร่หลายยิ่งขึ้น

Search Engine หลายผู้ให้บริการ ให้คะแนน Meta Description

เมื่อเห็นความสำคัญของการทำ Meta Description แล้ว ต่อไปจะเป็นภาคปฏิบัติ คุณต้องฝึกฝนให้ชำนาญว่าจะเขียนอย่างไรให้ได้เนื้อหาที่กระชับและโดนใจผู้อ่าน เรียกว่าอ่านแล้วดึงดูดใจให้อยากอ่านต่อเพื่อเรียนรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ จึงคลิกเข้ามาดูเว็บไซต์ในทันที แต่ไม่ใช่ลักษณะคลิกเบท โดยปกติการใส่คีย์เวิร์ดในบทความอย่างแนบเนียนเป็นการทำ SEO อยู่แล้ว การทำ Meta Description จะเข้ามาเป็นตัวเสริมให้ผู้อ่านเข้าถึงเนื้อหาในเว็บเร็วขึ้น

ทั้งนี้ คำอธิบาย Meta Description ควรมีเอกลักษณ์ เพราะถ้าเขียนเหมือนกับคำแนะนำในหน้าเว็บอื่น ๆ จะไม่ได้รับความสนใจจากดัชนีการจัดอันดับของ Google ถือว่าไม่ได้เสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต แม้ว่าชื่อของหน้าเว็บจะแตกต่างกันไป แต่ถ้าคำอธิบายทั้งหมดเหมือนกัน ทำไปก็เสียเวลาเปล่า คุณสามารถใช้ประโยชน์จาก Google Webmaster Tools คลิกเข้า HTML Improvements หรือใช้ Screaming Frog SEO Spider เพื่อเพื่อตรวจสอบคำอธิบายที่ซ้ำกันและปรับแต่งใหม่ให้โดดเด่นกว่าเว็บอื่นได้

เกณฑ์การเขียนคำอธิบาย Meta Description มีได้สูงสุด 155 ตัวอักษร บางครั้งอาจถูกตัดสั้น ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ Google เพิ่มลงในผลการค้นหา เช่น อาจเพิ่มวันที่ลงในบทความ ซึ่งจะลดจำนวนอักษรที่พร้อมใช้งาน นอกจากนี้ Google ยังปรับเปลี่ยนความยาวทุก ๆ คราว เขียนให้กระชับไว้ก่อนปลอดภัยกว่า ควรมีคำกระตุ้นการตัดสินใจ เช่น “ด่วน” “ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่คุณต้องการ” “ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม” ถ้ามีผลิตภัณฑ์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ๆ มุ่งเน้นไปที่รายละเอียดทางเทคนิค เขียนอธิบายให้เข้าใจง่าย ราคาถูก ทำให้เกิดความสนใจและคลิกเข้าเว็บไซต์โดยเร็ว

ย่อหน้าแรกของเนื้อหา ควรใส่ใจเป็นพิเศษ

ขณะเดียวกันผู้เขียนบทความควรให้ความสำคัญกับย่อหน้าแรกของคอนเทนต์ โดยเฉพาะ 155 ตัวอักษรแรก ควรสอดแทรกคีย์เวิร์ดหลักรวมอยู่ด้วย ถือเป็นเรื่องจำเป็น ทุกครั้งที่จะเขียนบทความ ควรใส่คีย์เวิร์ดหลักในย่อหน้าแรกอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าหาก Google ไม่พบการทำ Meta description อยู่ในบทความ จะดึงข้อความในย่อหน้าแรกไปแสดงผลบนการค้นหาแทน การใส่มีคีย์เวิร์ดไว้ทั้งในย่อหน้าแรกหรือในคำอธิบายเนื้อหาย่อมเป็นสิ่งที่ดีและช่วยให้เว็บติดอันดับดีขึ้นเรื่อยๆ

Tags “H” สำคัญมากนะบอกให้

โดยทั่วไปแล้วในหนังสือแต่ละเล่มที่มีบทความให้เราได้อ่านข้อมูลต่างๆนั้น ส่วนมากนอกจากจะมีหัวข้อเรื่อง ก็จะมีหัวข้อรองต่างๆปนอยู่ในบทความด้วย ยิ่งบทความยาวมากเท่าไหร่ จำนวนหัวข้อย่อยๆก็จะมีเยอะมากเท่านั้น มันเป็นการจัดลำดับความสำคัญของส่วนเนื้อหาให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจได้อย่างลงตัว หากว่าเนื้อหามีความยาวค่อนข้างเยอะ สมมุติว่ายาวเต็มหนึ่งหน้ากระดาษ A4 หากว่าไม่มีหัวข้อย่อยเลย มีแต่หัวข้อหลัก และในบทความนั้นมีเรื่องราวหลากหลายปนกันอยู่ในบทความเดียวกัน เชื่อได้ว่าผู้อ่านส่วนใหญ่ก็อาจจะเกิดความสับสนแถมเวลาจะกลับมาอ่านย้ำอีกทีก็จะไล่ไม่ค่อยถูกนัก

หัวข้อย่อยๆจึงมีส่วนสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดว่า หากผู้อ่านต้องการจะกลับมาอ่านย้อนหลังในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในส่วนใดส่วนหนึ่งของเนื้อหา ก็เพียงแค่จำหัวข้อย่อยของส่วนเนื้อหานั้นเอาไว้แล้วก็กลับมาอ่านซ้ำในจุดนั้น มันจะง่ายกว่าการที่จะต้องมาไล่สุ่มหาจุดที่เราต้องการอ่านซ้ำอีกครั้งจากตัวเนื้อหาโดยปราศจากหัวข้อย่อยๆนั่นเอง

บทความในเว็บไซต์ต้องมีหัวข้อด้วย

หัวข้อ

ในทางการทำเว็บไซต์นั้น หัวข้อย่อยๆเหล่านี้รวมไปถึงหัวข้อหลักก็มักจะถูกแทนที่ด้วย Tags H ซึ่งหากว่าบทความของเรานั้นไม่มี Tags H ปนอยู่เลย รับรองได้ว่าการทำ SEO จะทำยากมากกว่าเดิม ปัจจุบัน CMS WordPress ซึ่งเป็นที่ได้รับความนิยม จะมีการใส่ H1 ให้กับหัวข้อหลักเป็นที่เรียบร้อย นอกจากบาง Theme อาจจะย่อยเป็น H2 แทน H1 นอกจากนี้ ในตัวบทความ เจ้าของเว็ปที่จะลงเนื้อหานั้นก็สามารถใส่แท็ก H2 H3 H4 เพื่อเป็นหัวข้อย่อยๆต่างๆที่อยู่ในบทความได้

การมีหัวข้อย่อยๆเหล่านี้จะช่วยให้การทำ SEO ในหน้าเว็บเพจนั้นทำได้ง่ายยิ่งขึ้น เพราะมีตัวบ่งบอกเสิร์จเอนจิ้นว่าบทความของเรามีการแบ่งวรรคแบ่งส่วนกันอย่างชัดเจน ไม่ทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสน ค่าคะแนนสกอร์ SEO Onpage ก็จะดีตามไปด้วย นี่คือหลักการ OnPage จำไว้ว่า Tags H มีความสำคัญเกี่ยวกับการทำ SEO Onpage เป็นอย่างมาก แต่ละบทความควรจะมี Tags H อย่างน้อยหนึ่งอัน ถ้ากลัวว่าลืมใส่ ก็ใช้ WordPress มาเป็นตัวช่วยสร้างเว็บดูสิ

เผยบทความ… มัดใจ Google ให้อยู่หมัด

เผยบทความ... มัดใจ Google ให้อยู่หมัด

แน่นอนว่าสำหรับการทำเว็บไซด์ และ SEO บทความคือตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ เพราะในบทความจะมีเนื้อหาที่ทำให้คนรู้จักและเข้าใจเรื่องราวของเว็บนั้นๆ และมีคีย์เวิร์ดในการดัน SEO หรือมันคือคำที่จะทำให้คนค้นหาแล้วมาเจอเว็บเรานั่นเอง แล้วบทความแบบไหนล่ะที่ Google ชอบ

คุณภาพชั้นดีและ Google ชอบมาก

1.เนื้อหาบทความไม่ซ้ำกับเว็บใหม่คือ สดๆ ซิงๆ ไม่รีปรินท์ ไม่สปิน ไม่มีคำซ้ำกับเว็บอื่นๆ (ยกเว้นคำเฉพาะทาง ) คำในที่นี่คือรูปประโยค สำนวน ที่ไม่ควรมีซ้ำกับเว็บอื่นๆ แม้ว่ามันจะยากแต่หากทำได้บทความนั้นจะเป็นบทความคุณภาพชั้นดีและ Google ชอบมาก

2.คีย์เวิร์ดสำหรับการทำ SEO แน่นอนว่าคนทำเขาต้องวิเคราะห์คีย์เวิร์ดออกมาแล้วว่าควรใช้คีย์หลักและรองคำไหนบ้าง และจะแทรกเข้าบทความแบบไหนในดูเนียนๆ ไม่สะดุดแม้ว่าคำๆนั้นจะไม่เกี่ยวข้องกับเว็บนั้นๆก็ตาม เพราะบทความไม่จำเป็นต้องตรงกับเว็บไซด์อาจมีการทำบทความคนละแนวสอดแทรกเข้าไปเพื่อให้มีคีย์อื่นๆมาช่วยดันเว็บได้ แน่นอนว่ามันยากและท้าทาย

3.การจัดหน้าบทความในเว็บไซด์ ถือเป็นอีกสิ่งเพราะหากมีบทความคุณภาพ มีคีย์เวิร์ดที่เหมาะสม ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับการจัดหน้าของเว็บไซด์นั้นๆในการลงบทความจะต้องมีการทำ On page ให้กับเว็บไซด์ การปรับขนาดอักษร การให้ความสำคัญของย่อหน้า หัวเรื่อง การทำให้คีย์เวิร์ดกลายเป็นลิงค์ การทำให้คีย์เวิร์ดค้นหาได้ง่ายเมื่อ Bot วิ่งหรือมีการค้นหา สิ่งเหล่านี้สำคัญมากพอๆกับการเขียนบทความและไม่ควรละเลยหากต้องการทำ SEO ให้ติดอันดับที่ดี

4.การไม่ใช้บทความสปิน หลายๆคนเลือกใช้การสปินบทความเพื่อความรวดเร็วเพราะบางเว็บนั้นมีเว็บลูกหลายเว็บการซื้อบทความหรือจ้างทำบทความหลายคนมองว่าสิ้นเปลืองสู้จ้างเป็นชุดแล้วทำสปินปรับคำใหม่มันประหยัดกว่า แต่หารู้ไม่ว่ามันไม่สดไม่ใหม่และคนอ่านไม่รู้เรื่องแม้ว่าความต้องการคือจะให้ Bot วิ่งเข้ามาอ่านและเก็บข้อมูลก็ตามแต่มันก็ไม่ช่วยหัอันดับดีขึ้น

มัดใจ Google ให้อยู่หมัด

ที่กล่าวมาทั้งหมดหากนำไปปรับใช้รับรองว่าบทความที่ ทำลงเว็บไซด์ นั้นจะมีผลดีและตรงตามความต้องการของ Google และทำให้เว็บไซด์กลายเป็นเว็บคุณภาพ และอย่าลืมความถี่ห่างและเวลาในการอัพเดทบทความลงเว็บและการโปรโมทเพื่อให้ยอดคลิ๊กเข้ามาที่เว็บด้วยหากทำได้รับรองว่าการทำ SEO ให้เว็บไซด์จะประสบผลที่ดีแม้จะไม่อยู่หน้าแรกแต่หากปรับส่วนอื่นก็สามารถทำให้คนค้นหาแล้วเจอเว็บเราได้ง่ายๆเหมือนกัน

บทความแบบไหนล่ะที่ Google ชอบ

ดู Code ออนเพจของเว็บไซต์คู่แข่ง แล้วนำมาปรับปรุงให้เว็บของเรา

ในเรื่องของ Off Page นั้นสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงติดตามแกะรอยกันได้อย่างง่ายดาย เพราะมีเครื่องมือเกี่ยวกับ Analytics ต่างๆที่จะคอยอำนวยความสะดวกให้กับเรา เพื่อที่จะใช้ในการช่วยให้เรารู้เว็บคู่แข่งว่าอดีตที่ผ่านมาเคยทำอะไรแต่บ้าง มีลิงค์จากแหล่งไหนที่มีความสำคัญ เคยถูกคู่แข่งรายอื่นโจมตี Off Page ด้วยการยิงลิงค์เข้ามาจำนวนมากหรือไม่ และมีจุดบกพร่อง จุดน่าสนใจตรงไหน ที่เราสามารถนำไปใช้กับเว็บไซต์ของเรา ข้อมูลเหล่านี้เราสามารถติดตามแกรอยเขามาได้ทั้งหมด

นอกจากเรื่องของ Off Pages ก็ยังมีเรื่องของออนเพจที่เราไม่ควรมองข้ามเช่นเดียวกัน เพราะในส่วนของ On Page นั้น หากเราปรับปรุงออกมาได้ดี การที่จะทำ Off Pages ให้เหนื่อยก็จะลดภาระค่าแรงลงไปได้เยอะเลยทีเดียว ไม่ต้องออกแรงในการหาลิ้งราคาแพงเข้ามาจำนวนมาก ประเด็นก็คือการทำ Off Page นั้นมันไม่ได้ง่ายเสมอไป เนื่องจากเครื่องมือการวิเคราะห์ต่างๆมีไม่ได้เยอะเหมือนการวิเคราะห์ในด้านของ Off Page การปรับออนเพจนั้นจริงๆมันไม่ยาก มีการตรวจสอบเว็บของคู่แข่งง่ายอยู่นิดเดียว นั่นคือการส่องโค้ดโครงสร้างเว็บไซต์เขานั่นเอง บางทีเราไม่จำเป็นต้องพยายามหาเครื่องมือต่างๆมาช่วยในการวิเคราะห์ แต่เราจำเป็นที่จะต้องมีความรู้พื้นฐานเรื่องของภาษา HTML หรือพวก Java script ไว้บ้าง

กลไกลการทำออนเพจ seo

หากใครที่ไม่มีความรู้พื้นฐานในส่วนของภาษา HTML ก็ควรจะหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อก่อน เพราะภาษานี้มันเป็นพื้นฐานของการทำเว็บไซต์เลยก็ว่าได้หากเราขาดความรู้เรื่องของภาษา HTML การจะต่อยอดความสามารถในเรื่องของ SEO จะเป็นไปได้ยากในส่วนของภาษาจาวาสคริปหรือเจคิวรี่ ภาษาเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องศึกษาอย่างลึกซึ้ง ดูแค่ระดับพื้นฐานก็พอ เมื่อเราดูโครงสร้างเว็บของคู่แข่งเรียบร้อยแล้ว ดูว่ามันมีจุดไหนบ้างที่จะช่วยมาเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเว็บไซต์ของเรา บางคนถึงขั้นก๊อปปี้โค้ดของคู่แข่งมาแล้ว เปลี่ยนเนื้อหา Website ของเราแต่วิธีนี้มันน่าเกลียดเกินไป เราควรดูศึกษาไว้เป็นกรณีเฉยๆว่าโครงสร้างของเขามีความง่ายหรือซับซ้อนมากเพียงใด

เว็บไซต์ที่ติดอันดับดี มักจะจะมีโครงสร้างเว็บที่ดูง่าย มีความรวดเร็วในการโหลดโครงสร้างหน้าเว็บไซต์เพราะ Google เองก็ชอบเว็บที่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานให้ดูง่าย เข้าถึงง่าย ไม่รกรุงรัง ไม่โหลดนาน เรื่องพวกนี้มีความจำเป็นอย่างมาก เมื่อเราทำการกระรอยต่างๆจนชำนาญ การที่เราจะมีอันดับเว็บดีขึ้น ไรือจะเขียนโครงสร้าง Theme ขึ้นมาเองเพื่อใช้เพิ่มประสิทธิภาพ SEO ให้ดียิ่งขึ้นก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

ความสำคัญของ Meta Tags บนหน้า SERP

ถ้าเรายังไม่เคยได้ศึกษา SEO อย่างละเอียด อาจจะไม่รู้ว่า Meta Tags คืออะไร มันคือ Tags ภาษา HTML ทั่วไปนี่แหละ ไม่ได้เป็นศัพท์เฉพาะในทาง SEO เลย และมักจะถูกใส่ไว้อยู่ในระหว่างแท็ก Head ด้านบนของเว็บ แต่ที่เราต้องมาทำความรู้จักกันสักหน่อย เพราะมันค่อนข้างสำคัญไม่น้อยในเรื่องของการทำ SEO ตั้งแต่ยุคอดีตจนถึงปัจจุบัน มันจะเป็นสิ่งที่ไว้แสดงผลให้ผู้ที่กำลังค้นหาข้อมูลได้เห็นบน SERP เราอยากจะให้ข้อมูลเว็บเราโชว์ข้อความแบบไหนก็สามารถปรับแต่งได้ เพื่อที่จะให้ดูน่าสนใจและชวนให้ผู้ใช้คลิกเข้ามาดูยังเว็บไซต์ของเรานั่นเอง

โดยปกติแล้ว เวลาเราค้นหาข้อมูลผ่าน Web Search Engine Google เราจะพบข้อมูลของแต่ละเว็บไซต์ที่จะแบ่งออกได้ 3 ส่วนหลัก นั่นคือส่วนของข้อความสีน้ำเงิน จะเรียกส่วนนี้ว่า Title ของเว็บไซต์ และตามด้วยแถบตัวอักษรสีเขียวที่เป็น URL ของเว็บไซต์เรา และส่วนสุดท้ายคือข้อความสีดำ อาจยาวประมาณ 1-2 บรรทัด ส่วนนี้จะเรียกว่ารายละเอียดของเว็บไซต์ นอกจากนี้ บางเว็บไซต์อาจจะมีเมนูย่อยอื่นๆโผล่มาด้วย ซึ่งก็แล้วแต่ว่ากลไลโครงสร้างของหน้าเว็บจะถูกนำมาประมวลผลแบบไหน บางเว็บไซต์มีการสร้างตำแหน่งธุรกิจของตนเองไว้ใน Google Business ด้วย เวลาค้นหาในเรื่องที่เกี่ยวข้องของเว็บไซต์เหล่านั้น อาจจะเจอข้อมูลของเว็บในส่วนของแผนที่และเบอร์โทรติดต่อ ซึ่งจะเพิ่มความน่าสนใจเพิ่มขึ้นไปอีก

Meta Tags มีผลอย่างไรกับผู้ใช้งาน ?

เมื่อ Search Engine จับข้อมูลต่างๆของเว็บไซต์เรานำไปประมวลผลและจัดอันดับให้บนหน้าผลการค้นหา สิ่งที่จะเป็นข้อมูลที่ถูกนำไปแสดงผล ก็คือมันจะเข้ามาจับข้อมูลส่วนของ Title เว็บไซต์ และนำไปแสดงผลในส่วนของข้อความสีน้ำเงินบนหน้า SERP หากว่าเราเขียน Title ของเว็บไซต์ได้น่าสนใจ อย่างเช่นระหว่าง Title “หน้าขาว หน้าใส ราคาถูก ใช้ดีจริง” กับ “ครีมหน้าขาว เห็นผลใน 7 วัน คลิกสั่งซื้อเลย” เวลามีผู้ใช้งานค้นหาเจอเว็บไซต์ของเรา คิดว่าเขาจะสนใจคลิกอันไหนมากกว่ากัน.. ? บางทีต่อให้เราขึ้นติด Top 1 ของผลการค้นหา แต่เขียนไตเติ้ลเว็บไซต์ไม่น่าสนใจ เว็บไซต์ที่ติด Top 2 อาจจะมีคนเข้าเว็บเยอะกว่าเราก็เป็นได้ สำหรับ Title ถือเป็นส่วนสำคัญมาก ดังนั้นเราก็ควรจะเขียนให้ดูน่าสนใจชวนคลิกเข้าเว็บไซต์ แต่อย่าลืมเรื่องคีย์เวิร์ดด้วย ในไตเติ้ลควรจะมีคีย์เวิร์ดที่เราต้องการให้ติดอันดับไว้ด้วย หากเราขายอาหารเสริมเพศชายก็ควรมีคำว่าอาหารเสริมสําหรับผู้ชายปะปนอยู่ในไตเติ้ลของหน้าเว็บเพจนั้นๆ เพื่อให้การทำ SEO ง่ายขึ้น

ส่วนของ URL ก็จะมีความสำคัญอยู่บ้าง ระหว่างคนค้นหาเจอ URL แบบ aaa.com/?p=12 กับแบบ aaa.com/creambeauty อันหลังนี้ก็ย่อมให้ความน่าสนใจมากกว่า แถมยังส่งผลดีในเรื่อง SEO ด้วยถ้า URL มีคีย์เวิร์ดที่เราต้องการทำอันดับปนอยู่ ส่วนสุดท้ายที่สำคัญคือ Description หรือเนื้อหานั่นเอง หากเรามีการกำหนด Meta Tags Description ไว้ในส่วนของ Head ทางบอทของกูเกิ้ลเองก็จะมาเก็บข้อมูลส่วน Meta Tags Description นี้แหละไปแสดงผลในส่วนของรายละเอียดเว็บไซต์บนหน้า SERP หากอยากให้โชว์ข้อมูลแบบไหนที่หน้าผลการค้นหา เราสามารถใช้ Meta Tags นี้ช่วยได้ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจในการคลิกเข้ามายังเว็บไซต์แก่ผู้ใช้งาน

ความเปลี่ยนแปลงในอดีตถึงปัจจุบัน

เมื่อสมัยแรกๆที่ Google ได้ออกมาพูดให้ความสำคัญเรื่องของ Meta Tags ช่วงนั้นเว็บไหนใส่ Meta Tags ครบ ก็มักจะมีอันดับดีกว่าเว็บที่ไม่ได้ใส่ Meta Tags แต่เดี๋ยวนี้พฤติกรรมผู้ใช้ก็แปรเปลี่ยนไปบ้าง ระบบคำนวนอันดับก็ต้องเปลี่ยนแปลงตาม เรื่องของ Meta Tags อาจถูกลดความสำคัญไปบางส่วน แต่ก็ยังเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม แบบเมื่อก่อน Meta Tags Keywords นักทำ SEO นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะเป็นตัวบ่งบอกว่าเว็บเราเกี่ยวกับคีย์เวิร์ดไหน จนเกิดการสแปมคีย์เวิร์ดในแท็กนี้ ทำให้การให้คะแนนแท็กนี้ถูกลดความสำคัญลงอย่างมาก เรียกได้ว่า จะใส่หรือไม่ใส่ Meta Tags Keywords ผลก็ไม่ต่างกันมาก อีกเรื่องหนึ่งก็คือแท็ก Description ที่เดี๋ยวนี้ต่อให้เราระบุเนื้อหาไว้ในแท็กเรียบร้อยแล้ว บ่อยครั้งที่บอท Google เลือกที่จะเก็บข้อมูลเนื้อหาส่วนอื่นของเว็บเรามาแสดงผลแทน มักจะไปเอามาจากแท็ก Body ของเว็บไซต์แทน Meta Tags Description แต่บางเว็บก็ยังคงแสดงผลเนื้อหาจาก Meta Tags Description อยู่ ในอนาคตเราก็ไม่มีทางรู้ได้อีกเช่นกันว่าจะมีการปรับเปลี่ยนอะไรอีกหรือไม่ แต่ปัจจุบันนี้หากต้องการทำเว็บให้ติดอันดับดีและชวนน่าคลิก ก็อย่าลืมใช้ Meta Tags เข้าช่วย อนาคตค่อยว่ากัน ตอนนี้ทำในสิ่งที่ควรทำไปก่อน

ที่ยกตัวอย่างมามีเพียงแค่ 3 ส่วนเท่านั้น คือ Title ของเว็บ Meta Tags Description และ Meta Tags Keywords จริงๆยังมี Meta Tags อื่นอีกเยอะพอสมควรที่อาจมีส่วนช่วยในเรื่อง SEO หรืออาจไม่ได้มีส่วนช่วย SEO แต่ไปช่วยในเรื่องของการอ่านข้อมูลหน้าเว็บไซต์แทนอย่างพวก Meta Tags Charset เป็นต้น หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องแท็กเหล่านี้ สามารถดูข้อมูลเพิ่มจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับภาษา HTML หรือจากลิงค์นี้ก็ได้ >> https://goo.gl/0Nphyo